"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

ไม่มีใครที่จะไม่ได้รับผลกระทบจาก “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” หรือ Climate change อันมีต้นเหตุหลักๆ มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์ และความเจริญเติบโตทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรม

ปัจจุบันเกือบทุกประเทศทั่วโลกได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอน ผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส

“บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)” หนึ่งในบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกอบธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านค้าสะดวกซื้อ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “7-Eleven” เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก ลดคาร์บอนผ่านกิจกรรมภายใต้นโยบาย “7 Go Green” 

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

นางอินทิรา พฤกษ์รัตนนภา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด(มหาชน) เล่าว่าซีพี ออลล์มีความมุ่งมั่นในการดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องใหญ่ และการดูแลสิ่งแวดล้อมไม่สามารถทำได้เพียงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง

ดังนั้น การทำงานของซีพี ออลล์ จะไม่ทำเพียงหน่วยงานเดียวแต่จะสร้างความร่วมมือกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ชุมชน สังคม พันธมิตรทางคู่ค้า ซึ่งที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการดำเนินการในหลากหลายกิจกรรมร่วมกัน

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

 

  • 4 แนวทางหลัก “7 Go Green”

“7 Go Green เพื่อสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง" ได้มีการกำหนดขอบเขตการดำเนินยุทธ์ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจค้าปลีก และโลจิสติก ของเซเว่นอีเลฟเว่น ซึ่งประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ

1.Green Store เน้นเรื่องการออกแบบและบริหารจัดการร้าน ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประหยัดพลังงานและการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

2.Green Logistic เริ่มต้นตั้งแต่การพัฒนาและออกแบบศูนย์กระจายสินค้าทั่วประเทศ โดยใช้หลักเกณฑ์ในระดับสากล คือมาตรฐานอาคารเขียว (Leadership in Energy & Environmental Design: LEED) เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน เช่นการติดตั้งโซล่าเซลเป็นต้น ในขณะเดียวกันการขนส่งและการกระจายสินค้า บริษัทมุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานเป็นหลักผ่านการดำเนินงาน โครงการลดมลภาวะจากการขนส่งสินค้า บริหารระยะเวลาในการขนส่งให้ลดลง 

3. Green living การปลูกจิตสำนึก การสร้างความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงริเริ่มรณรงค์ให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคและคนในสังคม ผ่านโครงการต่างๆเช่น ลดวันละถุงคุณทำได้ รวมพลังคนไทยเลิกใช้ถุงพลาสติก และการรณรงค์การแยกขยะให้แก่เด็กๆ เป็นต้น 

4. Green Packaging บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

 

  • “Circular Economy” ขับเคลื่อน Go Green

“ซีพี ออลล์” เป็นธุรกิจค้าปลีกที่จำหน่ายทั้งสินค้าบริโภคและอุปโภค ปัจจุบันเกือบ13,000 สาขา ทำให้มีสินค้าและผลิตภัณฑ์มากมาย ซึ่งทุกสินค้าจำเป็นจะต้องมี Packaging  หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการปกป้องและรักษาคุณภาพสินค้า สะดวกในการขนส่ง เพราะฉะนั้น ปริมาณบรรจุภัณฑ์ในแต่ละวันจึงมีจำนวนมาก

นางอินทิรา เล่าต่อว่า บริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจเรื่องของบรรจุภัณฑ์ได้มีการกำหนดนโยบายและมาตรการอย่าง Green Packaging เป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความยั่งยืนในการใช้ การจัดการ และสร้างสรรค์ โดยดำเนินการเป็นไปตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

ดังนั้น Green Packaging จะคำนึงถึง 3 ส่วนสำคัญเพื่อความยั่งยืน คือ บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและชุมชน รวมถึงต้องมองความคุ้มทุนทางธุรกิจด้วย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จะดำเนิน การโดยยึดหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการหลังการใช้สามารถดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และเกิดมูลค่าสูงสุด

  • 3R+1R พัฒนา“Green Packaging”

“Green Packaging” มองตั้งแต่กระบวนการเลือกวัสดุเพื่อนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ ตลอดไปจนถึงปลายทางว่าเมื่อผู้บริโภคซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นๆแล้วบรรจุภัณฑ์หลังการใช้งานจะเดินทางไปไหน จะนำไปสู่การเก็บ หรือการจัดการอย่างไร?

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

นางอินทิรา เล่าต่อไปว่า ทุกสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของซีพี ออลล์จะเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลัก 3 R บวก 1R คือ Reduce การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น Reuse การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ Recycle การนำวัสดุผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ และ Renewable แหล่งที่นำวัตถุดิบมาใช้จะต้องเป็นแหล่งเกิดใหม่ได้และมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนเช่น บรรจุภัณฑ์ที่มาจาการใช้เยื่อไม้ ต้องเป็นเยื่อไม้ที่มาจากแหล่งที่มีการปลูกทดแทนและมีการควบคุม ไม่ใช่การบุกรุกป่า เป็นต้น

ส่วนแบรนด์อื่นๆที่เป็นพันธมิตร จะเป็นการขอความร่วมมือให้ปรับเปลี่ยน Packaging โดยจะมีการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลาสติกและขยะ รวมถึงพยายามสนับสนุนและส่งเสริมคู่ค้าให้เลือกเทคโนโลยีหรือวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

  • 5 ปี Packagingซีพี ออลล์ ดูแลโลก100%

 “ใน 5 ปี คือปี พ.ศ. 2568 สำหรับบริษัทที่มีการดำเนินงานในประเทศไทย เรากำหนดไว้ว่า บรรจุภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดของสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของซีพี ออลล์ จะต้องสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reusable) หรือนำมาใช้ใหม่ (Recyclable) หรือสามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (Compostable) ได้ 100%  โดยกลยุทธ์แผนระยะยาวเป็นเรื่องการเพิ่มปริมาณการนำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้มาใช้ใหม่ สามารถ Reuse Recycle และปริมาณวัสดุที่ใช้ต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น และส่งเสริมให้ทุกกลุ่ม ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อม เพราะจะทำให้เกิดการต่อยอด และขยายวงกว้าง เพราะเรื่องนี้ต้องช่วยกันทั้งประเทศ” นางอินทิรา กล่าว

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

การช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมทุกคนสามารถทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากครอบครัว ทุกคนช่วยกันแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง หรือผลิตภัณฑ์สินค้าไหนที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ก็ควรใช้ซ้ำ

  • 3 มาตรการสู่บรรจุภัณฑ์รักษ์โลก

นายกรวุฒิ ภู่พงศ์ GM สำนักพัฒนาและประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เล่าว่าดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม 7 Go Green จะเป็นไปตามกรอบแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งได้มีมาตรการสอดคล้องกับภาครัฐ โดยทำ 3 R+1R และ Circular Economy เข้าไปในกระบวนการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

โดยมีทั้งหมด 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการ 1.ลดการใช้พลาสติก ณ แหล่งกำเนิด โดยการพัฒนาและเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีในการผลิต เช่น ถ้วยข้าวสวยซีพี ออลล์ ก่อนหน้านี้จะเป็นพลาสติกหนา แต่ตอนนี้เป็นพลาสติกบางแต่ยังคงคุณสมบัติในการใช้งาน

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

อีกทั้ง ยังมีการพัฒนาถาดอาหารพร้อมรับประทานที่ลดการใช้พลาสติกลง และผลิตภัณฑ์ของซีพี ออลล์ ทั้งหมดที่สามารถดำเนินการได้จะมีสัญลักษณ์รีไซเคิล และบอกชนิดของพลาสติกไว้ให้บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งช่วยในการคัดแยกขยะเบื้องต้น หรือยกเลิกและไม่มีการใช้พลาสติกที่หุ้มห่อฝาขวด หรือแคปซิล กับทุกแบรนด์น้ำดื่มที่ขายในเซเว่นก็จะไม่มีการใช้แคปซิล กล่องบรรจุภัณฑ์อาหารพร้อมรับประทาน ก็ได้เริ่มเปลี่ยนจากการใช้ฝาพลาสติกหนามาเป็นการใช้เป็นแผ่นฟิล์มบางๆ การพัฒนาและเลือกใช้วัสดุที่สามารถรีไซเคิลได้เพื่อสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่และลดขยะลงสู่หลุมฝังกลบ โดยต้องรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังมีการใช้วัสดุที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการที่ยั่งยืน เป็นต้น

  • ทุกภาคส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชม.

นายกรวุฒิ เล่าต่อว่าพลาสติกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำลังเข้าสู่แนวทาง Circular Economy ดังนั้น จึงเน้นการใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ส่วนพลาสติกที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ เช่น Compostable plastic ซึ่งจะเป็นวัสดุที่ผลิตจากวัสดุทางชีวภาพ จะใช้ในพื้นที่ ที่จำเป็นตามความเหมะสม   ส่วน มาตรการที่ 2 ลด และทดแทนการใช้พลาสติก จะเป็นการลด ณ ขั้นตอนการบริโภค โดยจะเป็นการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-use plastics)  หลักๆจะเป็นการลดถุงพลาสติก นอกจากนี้จะเป็น หลอด ช้อน ส้อม เป็นต้น นอกจากนี้ทาง บริษัท ไม่ได้มีการใช้โฟมบรรจุอาหาร มากว่า 8 ปีแล้ว

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

ภายในปี 2565 ทางภาครัฐมีนโยบายให้เลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อีก 4 ชนิด คือ ถุงหูหิ้ว (Shopping Bag) ที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติกแบบบางที่มีความหนาน้อยกว่า 100 ไมครอน และหลอดพลาสติก (ยกเว้น การใช้ในเด็ก คนชรา ผู้ป่วย) โดยทางเราได้มีการพัฒนาฝาแก้วยกดื่มเพื่อรองรับการงดการใช้หลอดกับเครื่องดื่มที่ยกดื่มได้ดังกล่าวไว้แล้ว และตอนนี้ซีพี ออลล์ ได้มีการลดใช้ถุงพลาสติก และพัฒนาถุงพลาสติกที่มีความหนามากกว่า 36 ไมครอน สำหรับการใช้งานซ้ำได้นานๆ และเมื่อใช้จนไม่สามารถใช้ได้แล้วก็สามารถนำมารีไซเคิลได้อีก

และมาตรการที่ 3 ลดขยะพลาสติก หลังการบริโภค ผ่านความร่วมมือของคนในองค์กร สร้างการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า ชุมชน เพื่อนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ มีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กๆ และคนในชุมชนได้รู้จักการจัดการขยะ การแยกขยะ  ซึ่งทุกร้านของเซเว่นฯ จะมีถังขยะ 2 ถัง เป็นขยะทั่วไป และถังสำหรับขยะที่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ร่วมแยกขยะ

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging

ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการติดตั้งตู้คืนขวดสะสมแต้ม ซึ่งทำงานร่วมกับพันธ์มิตร คือ Suntory Pepsico และได้มีโครงการเสื้อพนักงานที่ผลิตจากขวดพลาสติกรีไซเคิล เป็นการส่งเสริมให้มีการนำขวด PET กลับมาทำเป็นเส้นใยและเป็นเสื้อพนักงานกว่า 107,000 ตัว (ณ 31 ก.ค. 2564) นอกจากนี้ยังมีการนำซากของวัสดุพลาสติกในศูนย์กระจายสินค้ากลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลกลับมาเป็นพาเลทรีไซเคิล ตะกร้า Shopping รีไซเคิล เป็นต้น

จากการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมของซีพี ออลล์ ข้อมูลตั้งแต่ปี 2562-ไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ภายใต้กลยุทธ์ด้าน Green Packaging ทำให้สามารถลดการใช้พลาสติกได้โดยประมาณ  33,137 ตัน เทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 94,294 ตันคาร์บอนเทียบเท่า และเทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 2,192,886 ต้น

สิ่งที่เราทำไปทั้งหมด ซีพี ออลล์ ไม่ได้ทำเพียงลำพัง ดังนั้น การจะทำให้ทุกคนตระหนักและช่วยกันดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที่สำคัญ

วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งในกลุ่มวัสดุที่ไม่ใช่พลาสติก (non-plastic) ก็ถูกนำมาใช้โดยพิจารณาด้านความเหมาะสมกับการใช้งานและการจัดการหลังการใช้ และเมื่อพิจารณาถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติก (plastic) ในความเป็นจริงยังเป็นสิ่งที่มีประโยชน์สูง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งานในหลายๆด้าน การผลิตสามารถทำได้หลากหลายและมีต้นทุนที่เหมาะสม

สิ่งที่สำคัญ คือ จัดการตั้งแต่แนวคิดการพัฒนา การเลือกใช้วัสดุ และการคัดแยกจัดเก็บหลังการใช้งานเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ที่หลายภาคส่วนควรจะร่วมมือกัน โดยเล็งเห็นถึงประโยชน์ของวัสดุหลังการใช้งานและนำกลับมาจัดการ เช่นการรีไซเคิลกลับมาเป็นวัสดุตั้งต้นใหม่ในการผลิต เกิดเป็นกลไกเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่สามารถสร้างรายได้และเป็นประโยชน์กับทุกคน ทุกภาคส่วนในวงจรนี้

"ในขณะที่ทางภาครัฐ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินการด้วย Roadmap จัดการขยะพลาสติกของประเทศไทย ปี 2561 – 2573 และได้กำหนดเป้าหมายในการนำพลาสติก 7 ชนิด กลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ไม่น้อยกว่า 50 % ในปี 2565 และให้ได้ 100% ในปี 2570 อันนำมาสู่การลดปริมาณขยะพลาสติก ลดและประหยัดพื้นที่ฝังกลบ ลดงบประมาณการกำจัดขยะมูลฝอย และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการคัดแยก จัดเก็บสามารถเริ่มจากในครอบครัว นำไปสู่การสร้างรายได้ และนำกลับมาใช้ใหม่ในภาคอุตสาหกรรม ถ้าทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนร่วมกันจริงจัง น่าจะเป็นก้าวสำคัญของเมืองไทย” นายกรวุฒิ กล่าวทิ้งท้าย

"7 Go Green"ดูแลสิ่งแวดล้อม 24 ชั่วโมง เริ่มจากใช้ Green Packaging