5 'สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร(OQ)'ดูแลผู้ลักลอกเข้าเมือง

5 'สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร(OQ)'ดูแลผู้ลักลอกเข้าเมือง

เปิด 5 "สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (OQ)"ดูแลผู้ลักลอกเข้าเมือง ด้านสธ.จัดทำแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 แจงแบ่งฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาให้ได้ 12 โดสต่อขวด

เปิด 5 สถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (OQ) ดูแลแรงงานลักลอกเข้าเมือง ด้านกรมการแพทย์ จัดทำแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19  พร้อมแจงแบ่งฉีดวัคซีนแอสตราเซนเนกาให้ได้ 12 โดสต่อขวด

วันนี้ ( 22 ..2564) ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.)  กล่าวว่าที่ประชุม ศปก.ศบค. ที่มีพล..ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) ซึ่งมีการหารือประเด็นนี้ โดยพบว่า มีการลักลอบเข้าเมืองอย่างในรอบ 24 ชั่วโมงพบถึง 191 ราย อย่างฝั่งเมียนมาลักลอบเข้ามา 65 คน ส่วนกัมพูชาเข้ามา 64 คน ลาวเข้ามา 19 คน มาเลเซียไม่มีรายงานจับกุมได้ ซึ่งตรงนี้ยังเป็นเรื่องสำคัญ หน่วยงานเกี่ยวข้องทำงานเต็มที่ ซึ่งท่านนายกรัฐมนตรี ในฐานะผอ.ศบค.เน้นย้ำให้ดูแลเรื่องนี้เต็มที่

สำหรับระบบการป้องกันนั้น ในกรณีคนที่ข้ามแดนผ่านมาไม่ต้องเข้ามาในชั้นใน แต่จะมีสถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (OQ) โดยกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นผู้จัดการ ซึ่งขณะนี้พร้อมเปิดทางการแล้ว 5 แห่งประกอบด้วย .ไทรโยค .กาญจนบุรี , .เมือง .ประจวบคีรีขันธ์ และจ.ตาก ซึ่งมี 3 แห่ง คือ .ท่าสองยาง.แม่ระมาด และอ.แม่สอด .ตาก โดยนำผู้กักกันชาวเมียนมาทั้งหมด 151 รายที่เป็นชาย และหญิง 72 ราย รวมแล้วจำนวน 223 ราย เพื่อมาอยู่ในพื้นที่ที่กักกันไว้ให้ และจะมีการขยายสถานที่ OQ อีกหลายแห่งเช่นกัน

  • แนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วน ออกแนวทางการปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 โดยระบุว่า ด้วยสถานการณ์การระบาดของโควิด19 พบว่า บุคลากรทางการแพทย์สัมผัสโรค และจำหน่วยหนึ่งเกิดการติดเชื้อหลังการสัมผัสโรค ส่งผลให้มีการกักตัวบุคลากรที่มีประวัติสัมผัสความเสี่ยงสูง ทำให้ขาดแคลนบุคลากรด่านหน้า จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัยและส่งผลกระทบต่อหน่วยงานน้อยที่สุด

ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนแล้ว โดยบางส่วนได้รับครบถ้วน ส่วนที่เหลือจะทยอยรับวัคซีนตามกำหนดระยะเวลาไปตามลำดับ การที่บุคลากรได้รับวัคซีนอย่างทั่วถึง เป็นประโยชน์ในการลดความจำเป็นในการกักตัวบุคลากรเป็นอย่างมาก

ดังนั้น จึงมีการกำหนดแนวทางปฏิบัติดังกล่าวขึ้น ทั้งการกำหนดคำนิยามเฉพาะกรณีบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับวัคซีน การประเมินความเสี่ยงของผู้สัมผัส และกำหนดแนวทางการปฏิบัติทั่วไปเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสถานพยาบาล รวมทั้งมีข้อกำหนดกรณีบุคลากรเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สำหรับบุคลากรที่ได้รับวัคซีนและมีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่ง และแนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรที่ได้รับวัคซีนยังไม่ครบตามเกณฑ์ หรือยังไม่ได้รับวัคซีน

  • แบ่งฉีดวัคซีน "แอสตร้าเซเนก้า"ให้ได้ 12 โดสต่อขวด

นพ.รุ่งเรืองกิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข (รก.11) ในฐานะโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงนโยบายแบ่งฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าให้ได้ 12 โดสต่อขวด ซึ่งอาจ สร้างความกังวลให้กับพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ในฐานะเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการว่า  พยาบาล ที่เข้ามาทำหน้าที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 มีความเชี่ยวชาญในงานที่ปฏิบัติอยู่แล้ว มีประสบการณ์มามาก และสธ.มีการอบรมพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ขออย่าไปคิดว่า 1 ขวดพยาบาลจะดูดขึ้นมาได้กี่โดส เพราะเป้าหมายคือ ต้องดูดให้ได้โดสละ 0.5 cc.ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ และมีคุณภาพ

เรื่องดังกล่าวเป็นนโยบายที่ดี ทำให้มีประโยชน์และประสิทธิภาพ มีวัคซีนเพิ่มขึ้น 10-20 % และไม่มีการบังคับ แต่มีการฝึกอบรม พยาบาลที่ดูดวัคซีนจากขวดเพื่อเตรียมฉีดได้มีการประเมินผล และสอบถามพยาบาลที่ปฏิบัติงาน พบว่ามีความภูมิใจที่ได้ช่วยชาติและพี่น้องประชาชน ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า การให้บริการอยู่บนพื้นฐานความปลอดภัย และมาตรฐานสำหรับพยาบาลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ ทุกท่านมีความเต็มใจในการทำงาน เพราะถือเป็นภารกิจเพื่อชาติ ซึ่งทุกท่านพยายามเต็มที่แน่นอน