ภาษาไทย

บทความ / รีวิว

บทความ / รีวิว

images/23c3ab38-f180-4d74-bf6e-cc1d6eb36fea.jpg

สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อ Power supply !

Posted 26.04.2020 | รอบรู้เรื่องคอมพิวเตอร์

          หลายๆคนคงกำลังอาจจะมองหาสเป็คคอมในฝัน หรือกำลังเตรียมอุปกรณ์คอมสำหรับการทำงาน หรือเล่นเกมอย่ที่บ้าน  ลองนั่งๆจัด สเป็คไปก็เกิดคำถามขึ้นมา เอ๊ะ! สเป็คเราเป็นแบบนี้ เราต้องใช้ PSU เท่าไหร่ ให้เพียงพอต่อการกินไฟของอุปกรณ์อื่นๆในคอมพิวเตอร์ วันนี้ ComputeAndMore จะพาไปดูทั้งวิธีการเลือกขนาด PSU ให้เพียงพอต่อสเป็คของเราและ คุณภาพของ PSU ว่า 80+ แบบไหนต่างกันยังไงวันนี้มาดูเลย

PSU คืออะไร ?

          Power Supply Unit หรือ PSU คือ อุปกรณ์ที่ใช้จ่ายไฟให้กับชิ้นส่วนต่างๆภายในคอมพิวเตอร์ของเราโดยมีหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก กระแสสลับ(AC)ขนาด 220 V เป็นกระแสตรง(DC) 3V, 5V หรือ 12V นั่นเอง โดยจะจ่ายไฟผ่านเมนบอร์ดทำหน้าที่เลี้ยงอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การ์ดจอ DVD-Player พัดลมระบายความร้อน ไปจนถึงชิ้นส่วนอื่นๆภายในคอมพิวเตอร์ของเรา จึงพูดได้เลยว่า PSU นั้นมีความจำเป็นและมีหน้าที่สำคัญเอามากๆ จนเราไม่อาจมองข้ามมันได้เลย

ประเภทของ PSU

          PSU ยังสามารถแบ่งประเภทได้โดยแบ่งจากตัว PSU เองนั้นสามารถถอด-ต่อสายเคเบิ้ลเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ได้หรือไม่ โดยจะสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

          FULL-Modular เป็น PSU ที่สามารถถอด-ต่อสายได้ทุกเส้นนั่นเอง ส่วนใหญ่เป็นที่นิยมสำหรับ Modder นักแต่งเคสและผู้ใช้งานที่พอมีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์เนื่องมาจากง่ายต่อการจัดเก็บสาย เพิ่มอุปกรณ์และ แต่งคอมให้สวยนั่นเอง
          SEMI-Modular เป็น PSU ทีมีช่อง Modular สำหรับเสียบสายบางประเภทได้  มีสายไฟหลักติดมากับตัวเครื่องคล้ายกับ Non-Modular แต่จะมีช่องไว้ให้เสียบเพิ่มเติมกรณีที่ต้องการเพิ่มออฟชั่นต่างๆไปกันออกไปเช่น SLI หรือ Crossfire 

          NON-Modular เป็น PSU ที่มีสายต่ออุปกรณ์ทั้งหลายนั้นออกมาจากตัวของ PSU โดยตรงเราไม่สามารถทำการถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว PSU ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกที่สุดเลยก็ว่าได้แต่มีข้อเสียตรงที่ว่า ถ้าเราต้องการอัพเกรดหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์คอมเข้าไปอาจจะทำให้มีสายไม่พอต่อการใช้งานเป็นต้น          

80 PLUS  คือ ?

         80 PLUS หรือ 80+ คือ มาตรฐานที่ใช้เรียกประสิทธิภาพในการทำงาน (efficieny) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงาน ( แปลงกระแสไฟ AC เป็น DC) ระหว่างพลังงานขาเข้าและออกนั้นมีประสิทธิภาพเกินกว่า 80 % โดยในศาสตร์ทางวิศวกรรมนั้น ประสิทธิภาพใดๆก็ตามจะต้องมีค่าไม่เกิน 1 หรือ 100 % โดยจะสามารถคำนวณ หาค่าประสิทธิภาพได้จากสมการ  efficiency = Output/Input  ดังนั้นจึงหมายความได้ว่า PSU ที่มี 80+ นั่นหมายถึงมีการรักษาประสิทธิภาพในการแปลงพลังงานนั้นมีค่าไม่ต่ำกว่า 80 %  ซึ่งมีช่วงในการทำงานที่เรียกว่า โหลด อยู่ทั้งหมด 3 ช่วง คือ 20% , 50 % และ 100 % ถ้าหากยิ่งมีการสูญเสียพลังงานน้อยและประสิทธิภาพในการทำงานใกล้เคียงกับ 100 % ก็หมายความว่า เราสูญเสียพลังงานที่ใช้ในการแปลงกระแสน้อยหรือ พูดง่ายๆก็คือจะกินไฟฟ้าในการใช้งานน้อยลงนั่นเอง

แล้วมาตรฐานของ 80+ มีอะไรกี่ระดับ

ณ เวลานี้มีการแบ่งมาตรฐานออกเป็น 6 ระดับ  ด้วยกัน โดยอ้างอิงมาตรฐานจากทาง  Plugloadsolution  (http://www.plugloadsolutions.com)  ซึ่งแต่ระดับจะมีความหมายดังนี้ 
          1. ระดับสีขาว (White) คือ PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20%,50%,100% ได้   (80% efficiency ) และจะทดสอบกับ PSU ที่ใช้ไฟ AC ในช่วง  110V เท่านั้น
          2. ระดับสีทองแดง ( Bronze ) คือ PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20% มี efficiency เกิน 81 %, ช่วง 50% มี efficiency เกิน 85% และ  ช่วง 100 % มี efficiency เกิน 81% โดยจะมีการทดสอบด้วยไฟฟ้า AC ขนาด 220 V  เพื่อการันตีมาตรฐานนี้
          3. ระดับสีเงิน ( Silver ) คือ PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20% มี efficiency   เกิน 85% , ช่วง 50% มี efficiency เกิน 89 % และ ช่วง 100% มี efficiency เกิน 85% ซึ่งสำหรับมาตรฐานนี้ก็ใช้ไฟฟ้า AC ขนาด 220V มาทำการทดสอบเพื่อการันตีมาตรฐานนี้นั่นเอง
          4. ระดับสีทอง ( Gold ) คือ  PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20% มี efficiency   เกิน 88% , ช่วง 50% มี efficiency เกิน 92 % และ ช่วง 100% มี efficiency เกิน  88% ซึ่งสำหรับมาตรฐานนี้ก็ใช้ไฟฟ้า AC ขนาด 220V มาทำการทดสอบเพื่อการันตีมาตรฐานนี้นั่นเอง
          5. ระดับสีแพลตทินั่ม ( Platinum ) คือ PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20% มี efficiency   เกิน 90% , ช่วง 50% มี efficiency เกิน 94 % และ ช่วง 100% มี efficiency เกิน  91% ซึ่งสำหรับมาตรฐานนี้ก็ใช้ไฟฟ้า AC ขนาด 220V มาทำการทดสอบเพื่อการันตีมาตรฐานนี้นั่นเอง
          6. ระดับสีไทเทเนี่ยม  ( Titanium ) คือ PSU ที่มีการทำงานของโหลดในช่วง 20% มี efficiency   เกิน 94% , ช่วง 50% มี efficiency เกิน 96% และ ช่วง 100% มี efficiency เกิน  91%  ซึ่งสำหรับมาตรฐานนี้ก็ใช้ไฟฟ้า AC ขนาด 220V มาทำการทดสอบเพื่อการันตีมาตรฐานนี้นั่นเอง

สามารถดูรายละเอียดมาตรฐานโดยสรุปอยู่ด้านล่างตามตารางนี้

ฟังก์ชัน PSU

          เชื่อว่าใครหลายๆคนเคยเข้าไปอ่านสเป็คของ PSU แล้วจะเจอตัวย่อสามตัวเช่น OCP , UVP หรือ OPP เป็นต้นแล้วพวกนี้มันคืออะไรหละ วันนี้ ComputeAndMore จะมาเฉลยให้ฟังกัน 
          1. SCP – Short Circuit Protection หรือ พูดง่ายฟังก์ชันป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร  เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรก็จะมีการตัดไฟโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับอุปกรณ์ส่วนอื่นๆของเรานั่นเอง  
          2. OCP – Over Current Protection หรือ ฟังก์ชันป้องกันแรงดันกระแสเกิน จะมีหน้าที่ในการป้องกันผลกระทบที่เกิดมาจากการจ่ายกระแสแรงดันไฟฟ้ามาเกินไปเข้าสู่ PSU ซึ่งอาจจะทำให้เกิดไฟฟ้าลดวงจรหรือ Overload ขึ้นมาได้โดยฟังก์ชันนี้ส่วนมากจะทำงานเมื่อมีกระแสเกิน   130%-150%  โดยปกติแล้วฟังก์ชันนี้ส่วนใหญ่จะมีเป็นหลักเนื่องมาจากระบบการจ่ายไฟระหว่าง Mainboard และ VGA มักจะไม่ค่อยเสถียรในบางครั้งการ์ดจออาจจะต้องการเพิ่มแรงดันกระแสเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพขึ้น ดังนั้นถ้าในบางครั้งเกิดการจ่ายไฟแรงดันกระแสเกินก็อาจจะทำให้การ์ดจอนั้นเสียหายได้เลย
          3. OVP – Over Voltage Protection ฟังก์ชันป้องกันการจ่ายกระแสไฟเกิน เป็นฟังก์ชันที่ทำให้ PSU ต้องชัดดาวน์ตัวเองลงเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายในอุปกรณ์ที่รับกระแสไฟที่แปลงโดย PSU มักจะเกิดเมื่อมีไฟ Output เกินกว่า 110-130 % ของ ที่ระบุในสเปก เช่น อุปกรณ์สามารถจ่าย Output ได้ 12V ถ้ามีการจ่ายไฟเกินกว่า 13V ก็อาจจะทำให้วงจรนี้ทำงานเป็นต้น
          4. OPP – Over Power Protection หรือ ฟังก์ชันป้องกันกำลังไฟเกิน  ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายที่เกิดการจ่ายจากกำลังไฟที่มากเกินไปของ Output จะทำงานเมื่อมีค่ากำลังไฟกับเชื่อมต่อกับ Component สูงเกิน 130 – 150 %
          5. OTP – Over Temperature Protection หรือฟังก์ชันป้องกันอุณหภูมิเกิน ทำหน้าที่ปิดการทำงานของ PSU เมื่อมีอุณหภูมิเกินกว่าที่กำหนดไว้ว่าปลอดภัยในการทำงาน
          6. UVP – Under voltage Protection หรือ ฟังก์ชันป้องกันแรงดันไฟตก ทำหน้าที่ ป้องกันการเกิดแรงดันไฟตกลงเกินกว่าที่กำหนดไว้ ไม่ให้เกิดการดับของอุปกรณ์ในทันที่ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายถ้าอุปกรณ์นั้นกำลังทำงานนั่นเอง
          7. SIP – Surge & Inrush Protection หรือ ฟังก์ชันป้องกันไฟกระชาก เป็นฟังก์ชันที่เรียกว่าเกิดได้บ่อยมากนั่นเองทำหน้าที่ที่ช่วยลดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสั้นๆ นั่นเอง

วิธีคำนวณไฟ PSU ของเรา

             วิธีการคำนวณง่ายๆ ก็จะเป็นการดูสเป็คที่ระบุมากับสินค้าเช่น CPU มีค่า TDP กินไฟกี่วัตถ์  VGA มีค่ากินไฟกี่วัตถ์ เป็นต้นนำมาบวกลบกันก็จะได้ขนาด ไฟที่ใช้งานแล้วเราสามารถวางเผื่อให้เพิ่มขึ้น ประมาณ 50-100 W เพื่อกันกระแสไฟที่อาจเกิดขึ้นเช่น ไฟตก ไฟดับ ไฟกระชาก เป็นต้น แต่ที่เราพูดมามันดูยุ่งยากและดูจุกจิกใช่ไหมครับ งั้นทาง ComputeAndMore มีวิธีที่ง่ายกว่านั้น 2 วิธี
        1. วิธีแรกสามารถทักเข้ามาสอบถามแชทของทางร้าน ComputeAndMore ได้โดยตรง 
       2. วิธีที่สองสามารถโดยการเปิดเข้า Outervision ซึ่งเป็นเวปไซต์ที่ใช้ในการคำนวณพาวเวอร์ซัพพลายของเรา โดยสามารถเลือกเป็นโหมด Expert ที่คำนวณถึงอุปกรณ์ทุกชิ้นภายในคอมพิวเตอร์เราแบบเต็มที่จะสามารถเลือกพัดลมกี่ตัว ฮาร์ดดิสกี่ลูก การ์ดจอกี่ใบได้เต็มที่ รวมไปถึงอัตรการใช้พลังงาน จนกระทั่งไปถึงการ Overclock ก็สามารถทำได้ด้วย
 

ยกตัวอย่างถ้าผมมีคอมสเป็ค คือ 

CPU:INTEL CORE I7-9700K,VGA:GALAX RTX 2080 SUPER , RAM:CORSAIR VENGEANCE PRO DDR4 32 GB BUS 3200 (16X2), มี SSD M.2  2 ตัว , มี water cooling ระบายความร้อน ,เครื่อง Blu-ray ,มีเครื่อง , มีชุดระบายน้ำปิด NZXT Kraken X62 มีเกมมิ่งเม้าและคีบอร์ด และอุปกรณ์ เสียบผ่าน USB 3.0   ทั้งหมด 3 ชิ้น และใช้งานทั้งหมด 8 ชม. / วัน เราจะได้ผลลัพธ์ออกมาตามด้านล่างนี้
 

 

          หลังจากที่ได้ทำการกรอกข้อมูลสเป็คเบื้องต้นไป ก็จะเห็นได้ว่า Load Wattage หรือ โหลดที่ใช้พลังงานจะอยู่ที่ 547W และมี Recommend UPS Rating อยู่ที่ 1100VA ซึ่งหมายถึงเรื่องเครื่องจ่ายไฟสำรองไว้ขนาด 1100VA นั่นเอง และแนะนำขนาด PSU อยู่ที่ 600W ขึ้นไป และ ยิ่งถ้าเราใช้คอมเป็นระยะเวลานานก็จะแนะนำเป็น แบบ 80+ Gold ที่สามารถช่วยประหยัดไฟได้ดีกว่านั่นเอง 

สรุปสุดท้าย

          คราวนี้หลายๆท่านคงได้รู้กันแล้วนะครับว่าการเลือก PSU แบบดีๆนั้นมีดีอย่างไร รวมไปถึงความต่างของ 80plus หลายๆสีด้วย ทำให้เราสามารถวางแผนการซื้ออุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ คุ้มค่าสำหรับการใช้งานในอนาคตได้มากขึ้น หรือ ถ้ามีข้อสงสัยอยากสอบถามเพิ่มเติมให้เราจัดสเป็คให้คำนวณหา PSU ที่เหมาะสมก็สามารถทักเข้ามาได้ที่ ComputeAndMore โดยตรงเพราะที่นี่คืออีกระดับของคุณภาพ!


สามารถเลือกซื้อ Power Suppy (PSU) ได้ที่ https://computeandmore.com/categories/components-diy/power-supply

เลือกอ่านบทความอื่นๆของ Compute And More ได้ที่ https://computeandmore.com/blogs