เบื้องลึก! กทม.เซ็ตระบบ 'ปลดแอก' หมอพร้อม

เบื้องลึก! กทม.เซ็ตระบบ 'ปลดแอก' หมอพร้อม

เปิดเบื้องลึก! กทม. เซ็ตระบบลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด "ปลดแอก" หมอพร้อม

ภายหลังกรุงเทพมหานคร(กทม.) ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย แถลงข่าวเปิดตัวระบบลงทะเบียนฉีดวัคชีนโควิด-19 ผ่าน "ไทยร่วมใจ กรุงเทพปลอดภัย" เปิดช่องทางอำนวยความสะดวกประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกโรงพยาบาล 25 จุดทั่วกรุงเทพฯ ตามเป้าหมาย มิ..-..ที่ กทม.ได้รับการจัดสรรวัคซีนจากกระทรวงสาธารณสุข เดือนละ 2.5 ล้านโดสรวม 2 เดือน 5 ล้านโดส

โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นไข่แดงสำคัญที่ กทม.เร่งเดินหน้าสร้างระบบและอำนวยความสะดวกขั้นตอนการลงทะเบียนให้ง่ายและเข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิดให้โดยเร็วที่สุด จนเป็นที่มาของดีลระหว่าง "กทม.-สภาหอการค้าไทย" ตั้งต้นขยายพื้นที่จุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลจากเดิม 14 แห่งขยายเป็น 25 แห่ง

เป้าหมายครั้งนี้ กทม.จะเร่งกระจายพื้นที่ฉีดวัคซีนในกรุงเทพฯ ใน 6 กลุ่มเขต สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ อายุตั้งแต่ 18-59 ปีที่ไม่ได้เป็น 7 กลุ่มโรคเสี่ยง สามารถลงทะเบียน 3 ช่องทาง ตั้งแต่ www.ไทยร่วมใจ.com แอปพลิเคชันเป๋าตัง และร้านค้าสะดวกซื้อที่ร้าน 7-eleven, Family Mart , Tops Daily และ mini Big C ตั้งแต่วันที่ 27 มิ..เป็นต้นไป พร้อมเริ่มคิวฉีดวันแรก 7 มิ..

162201686787

แต่ที่มาที่ไปของในการแยกตัวการลงทะเบียน "หมอพร้อม" ของ กทม.ครั้งนี้มาจากการพูดคุยกับสภาหาการค้าไทย เพื่อหาพื้นที่จุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลทั่วกรุงเทพฯ ตามเป้าหมายให้บริการฉีดวัคซีน 2,500-3,000 คนต่อแห่ง รวม 25 จุดอยู่ที่ประมาณ 38,000-50,000 คนต่อวัน เมื่อรวมกับการฉีดในโรงพยาบาล 126 แห่งที่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มอีกวันละ 30,000 คนกทม.จะมีตัวเลขฉีดวัคซีนได้วันละ 80,000 คน 

สำหรับแบ่งกลุ่มการบริหารจัดการของ กทม.โดยแยกตัวออกมาจาก "หมอพร้อม" เพื่อสร้างการบริหารจัดการด้วยตัวเอง ให้ 3 ช่องทางการลงทะเบียน เพราะในแอปพลิเคชัน "หมอพร้อม" ซึ่งเป็นช่องทางหลักของลงทะเบียนรับวัคซีนในกลุ่มเสี่ยงอายุ 59 ปี 11 เดือนขึ้นไปและกลุ่มที่มีโรคประจำตัว 7 โรคซึ่งเป็นกลุ่มที่มีรายชื่อในโรงพยาบาลที่รักษาตัว

แต่การจัดจุดฉีดของกทม. 25 แห่ง ฝ่ายบริหาร กทม.ต้องการสร้าง "ระบบลงทะเบียน" ของตัวเอง เพราะหากให้การลงทะเบียนไปที่ "หมอพร้อม" จะมีปัญหาเรื่องระบบที่ไม่พร้อมทั้งหมด กทม.จึงมีแนวคิดทำระบบเฉพาะ "คนกรุงเทพฯ" โดยที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีฐานข้อมูล เช่นเดียวกับจังหวัดอื่นเช่น "นนท์พร้อม" เป็นสร้างระบบการลงทะเบียนของตัวเอง

ภายหลังที่สภาหอการค้าไทยได้หารือกับ กทม.แล้ว ได้ไปคุยกับผู้ประกอบการทั้งหมดในภาคีเครือข่ายเอกชน และกลุ่ม 3 โอเปอเรเตอร์ ซึ่งทุกฝ่ายพร้อมช่วย กทม. เนื่องจากเห็นว่าหากกระจายการฉีดวัคซีนคนกรุงเทพฯ จะสร้างภูมิคุ้มกันคนกรุงเทพฯ ให้กลับมาได้เร็ว เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจในกรุงเทพฯ กลับมาได้เร็วเช่นกัน เพราะหากไม่ทำระบบลงทะเบียนที่กว้างมากพอ จะกระทบกับการฉีดวันซีนไม่ถึงเป้าหมาย และทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจช้าตามไปด้วย

โดยเฉพาะการเข้ามาร่วมมือของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กทม.ได้นำบุคลากรไอทีที่มีความสามารถระดับประเทศ โดยเฉพาะ "ปฐมา จันทรักษ์" กรรมการผู้จัดการใหญ่ IBM ประเทศไทย ซึ่งมั่นใจว่าระบบการลงทะเบียนจะไม่มีปัญหาในที่ 27 พ.ค.นี้

162201689539

ขณะที่จำนวนของวัคซีนที่ กทม.จะได้รับจากกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นั้น ขณะนี้ยังเป็นไปตามกำหนดเดิมของ 7 มิ..นี้จำนวน 2.5 ล้านโดส แต่หากวัคซีนไม่มาตามกำหนดที่ สธ.เตรียมไว้ ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วจะต้องปรับเปลี่ยนการลงทะเบียนใหม่ ซึ่งในระบบเปลี่ยนได้ไม่ยาก

จากจำนวนประชากรคนกรุงเทพฯ นับตามทะเบียนราษฎร 31 ..2563 อยู่ที่ 5,487,876 ล้านคน โดยมีประชากรแฝงประมาณ 10 ล้านคน การ "แยกตัว" สร้างระบบลงทะเบียนฉีดวัคซีนของ กทม.ออกจากหมอพร้อมครั้งนี้ เพื่อแก้ปัญหาคอขวดเพื่อเร่งแผนฉีคซีนให้คนกรุงเทพฯ ให้เร็วที่สุด.

162202302328