ผันผวน (4 มิ.ย.64)

ผันผวน (4 มิ.ย.64)

วันพุธที่ผ่านมาดัชนีแกว่งตัวผันผวน โดยในช่วงเช้าปรับตัวสูงถึง 9 จุด ส่วนในภาคบ่ายดัชนีอยู่ในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ จากแรงขายทำกำไรในหุ้นที่ปรับตัวขึ้นมามากในวันก่อนหน้า

ประกอบกับแรงขายลดความเสี่ยงก่อนเข้าสู่วันหยุด ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,617.55 จุด -1.04 จุด -0.06% มูลค่าการซื้อขาย 101,450 ลบ. ต่างชาติ -1,335.06 ลบ. TFEX -12,658 สัญญา ตราสารหนี้ -614.21 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ อังกฤษทำสถิติไม่พบผู้เสียชีวิตรายใหม่จากโรคโควิด-19 เป็นเวลา 28 วันนับจนถึงวันอังคารที่ 1 มิ.ย. เป็นสัญญาณบวกที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น
+ ดัชนีภาคบริการของสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 64 ในเดือนพ.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ดัชนีภาคบริการเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจากระดับ 62.7 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 63
+ PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายของสหรัฐ พุ่งขึ้นสู่ระดับ 70.4 ในเดือนพ.ค. สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ปี 2552 ดัชนี PMI ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค.สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดที่ระดับ 70.1 และเพิ่มขึ้นจากระดับ 64.7 ในเดือนเม.ย.
+ เฟดเผย Beige Book ชี้เศรษฐกิจสหรัฐโตต่อเนื่อง แต่ภาคเอกชนขาดแคลนแรงงาน
+ การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐพุ่งขึ้น 978,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 680,000 ตำแหน่ง และเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563
+ รมว.สธ.เผยขณะนี้การเจรจาจัดหาวัคซีนไฟเซอร์-จอห์นสันฯ อยู่ในขั้นสุดท้ายแล้ว
+ ที่ประชุมสภาฯ ลงมติ 269:201 รับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 65 วาระแรก วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาฯ จำนวน 72 คน แปรญัตติภายใน 30 วัน
+ตลท.เผยฐานะการเงินบจ.ยังแข็งแกร่ง D/E ต่ำ แม้โดนผลกระทบโควิด หลังปรับตัวลดต้นทุน-เพิ่มช่องทางขายผ่านดิจิทัล

ปัจจัยลบ

+/- ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 23.34 จุด -0.07% ปิดลบวันแรกในรอบ 6 วันทำการ กังวลภาวะเงินเฟ้อกดดันให้นักลงทุนเทขายหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ขณะที่ตลาดจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนพ.ค.ที่มีกาหนดเปิดเผยวันนี้
- ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 2 เซนต์ -0.03% ปิดที่ 68.81 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินพุ่งขึ้นเหนือคาด แต่การที่สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐร่วงลงมากกว่า 5 ล้านบาร์เรลเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสกัดแรงลบในตลาดน้ำมันเมื่อคืนนี้
- ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยุติฉีดวัคซีนโควิดเข็มแรกหลังไม่ได้รับจัดสรรวัคซีนเพิ่ม
- ประธานเฟดฟิลาเดลเฟียชี้อาจถึงเวลาพิจารณาลดวงเงิน QE ขณะเศรษฐกิจฟื้นตัว
- มณฑลกวางตุ้งออกมาตรการคุมโควิดเข้มงวด หลังพบผู้ติดเชื้อเพิ่มต่อเนื่อง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวนตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนจับตาการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน พ.ค. ของสหรัฐ ประกอบกับติดตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนของรัฐบาล คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,605-1,625 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

• หุ้นที่เข้าคำนวณ FTSE มีผลบังคับใช้ราคาปิดวันที่ 18 มิ.ย. Large Cap : เข้า OR SCGP ไม่มีออก ,Mid Cap :ไม่มีเข้าและออก , Small Cap : เข้า KEX ออก THAI ,Micro Cap : เข้า JR, NEX, NRF, RT, SA, SO ไม่มีออก
• ยอดส่งออกเดือนเม.ย.ขยายตัว STA NER TWPC ASIAN KCE HANA SNC ADB
• หุ้นกลุ่ม Reopening MINT ERW CENTEL SHR AOT CPN CRC MBK AU M ZEN SPA
• หุ้นที่มีโอกาสเข้า SET50 : STGT IRPC STA KCE หุ้นที่มีโอกาสเข้า SET100 : STGT RCL TTA DCC PSL PTL SYNEX SINGER

หุ้นรายงานพิเศษ

                 CHAYO Bloomberg Consensus 16.50 บาท (คาดจะเห็นการทบทวนปรับเพิ่มขึ้น)

                              “โครงสร้างใหม่มีธุรกิจหลากหลายมากขึ้นหนุนการเติบโตสูงต่อเนื่อง”

•ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นแต่จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจมี 6 กลุ่มได้แก่ 1) ธุรกิจติดตามทวงถามหนี้ให้กับธนาคารและค่ายมือถือ 2) ธุรกิจบริหาร NPL ซื้อจากสถาบันการเงิน ปจบ.บริหารหนี้มูลค่า 6.5 หมื่นลบ. 3) ธุรกิจบริการระบบข้อมูล Call Center 4) ธุรกิจปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน 5) ธุรกิจขายสินค้าผ่าน Call Center และออนไลน์ ล่าสุดร่วมกับ DOD พัฒนาสินค้าที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากัญชง 6) ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เพิ่งจัดตั้งบจ. บริหารสินทรัพย์ชโย เจวี โดยถือหุ้น 55% คาดเริ่มซื้อ NPL ได้ภายใน 3Q64 งวด 1Q64 สัดส่วนรายได้หลัก 92% มาจากธุรกิจบริหาร NPL 7% มาจากธุรกิจทวงถามหนี้ และ 1% มาจากธุรกิจ Call Center และขายสินค้าออนไลน์ ส่วนธุรกิจอื่นเพิ่งเริ่มต้นจึงยังไม่มีรายได้

•ความสามารถในการทำกำไรปรับดีขึ้นต่อเนื่อง งวด 1Q64 มีอัตรากำไรขั้นต้น 80.3% ดีขึ้นจาก 75.5% ในงวด 1Q63 ซึ่งหลักๆ มาจากธุรกิจบริหารหนี้ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงถึง 80.3% ขณะที่อัตรากำไรสุทธิ 36.8% ดีขึ้นจาก 33.3% ใน 1Q63 ทั้งนี้ ธุรกิจบริหารสินทรัพย์มีแนวโน้มเติบโตจากมูลค่า NPL ณ ปลายมี.ค. 64 อยู่ที่ราว 5.37 แสนล้านบาท เติบโต 2.65% จากปลายปี 63 และอาจเพิ่มขึ้นอีกหลังสิ้นสุดโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ในปลายปี 64

•ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อโครงสร้างธุรกิจใหม่ที่มีความหลากหลายมากขึ้นในการสร้าง S-curve ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 64 เฉลี่ย 243 ล้านบาท +57%YoY ซึ่งอาจเห็นการทบทวนปรับเพิ่มประมาณที่สะท้อนรายได้จากธุรกิจใหม่ในการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในการบริหาร NPL ราคาหุ้น +122%YTD ซื้อขายที่ P/E 79 เท่า สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 26 เท่า

หุ้นมีข่าว

(-) KBANK ( ฺBloomberg Consensus 161.00 บาท) MSCI ประกาศระหว่างกาลถอด KBANK จากการคำนวณดัชนี มีผล ณ ราคาปิดวันนี้ (4 มิ.ย.) เหตุ NVDR มี “รูม” ใกล้เต็ม 25% คาดเงินไหลออกกว่า 1.8 พันล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) MC ( ฺBloomberg Consensus 12.50 บาท) ย้ำเป้ารายได้ปี 63/64 โต 10-12% หลังยอดขายออนไลน์พุ่ง เดินหน้าจัดโปรโมชั่น-ออกสินค้าใหม่ เพื่อรักษาการเติบโต SSSG ที่ 13% ซุ่มเจรจาคู่ค้าร่วมออกสินค้ากลุ่มเครื่องดื่มและอาหารในปี 65 พร้อมลุยขยายตลาดต่างประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ คาดมีความชัดเจนปี 65 (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) ROJNA (Bloomberg Consensus 7.85 บาท) ผู้บริหารประกาศเดินหน้าสร้างโรงงานแบตเตอรี ร่วมกับพันธมิตร EVLOMO จากสหรัฐอเมริกา กำลังการผลิต 8000 เมกะวัตต์ เชื่อเทรนด์ EV เป็นอนาคตของโลก ย้ำการฉีดวัคซีนหนุนเปิดเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุนฟื้น ล่าสุดตุน Backlog ที่ดิน 700 ไร่ ฟันธงรายได้ธุรกิจไฟฟ้าชนหมื่นล้านบาท โบรกชี้ดีลร่วมทุนกับ EVLOMO จะขายพื้นที่นิคมเข้า JV ดันรายได้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ACE (Bloomberg Consensus 4.90 บาท) โชว์ศักยภาพ สร้างโรงไฟฟ้าคลองขลุงคืบหน้าเร็วกว่ากำหนด เดินหน้าขอการไฟฟ้าจ่ายไฟเร็วขึ้นครึ่งปีหลัง คาดรู้ผลมิถุนายนนี้ แย้ม Q2/2564 รับรู้ขายไฟ 4 โครงการใหม่เต็มไตรมาส รับจ่ายไฟครึ่งปีหลัง (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตา

ในประเทศ 

4 มิ.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงสถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการ

สัปดาห์ที่ 2 สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน

9 มิ.ย. ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)

สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท. แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

15 มิ.ย. ศาลล้มละลายนัดฟังคำสั่งแผนฟื้นฟู บมจ.การบินไทย(THAI)

สัปดาห์ที่ 4 ก.พาณิชย์ แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

23 มิ.ย. ประชุม กนง. ครั้งที่ 4/2564

30 มิ.ย. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ต่างประเทศ 

4 มิ.ย. อียูเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนพ.ค.

          สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร และยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน

7 มิ.ย. จีนเปิดเผยดุลการค้าเดือนพ.ค.

8 มิ.ย. ญี่ปุ่นรายงาน GDP 1Q64

         อียูรายงาน GDP 1Q64 และความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ

         สหรัฐ เปิดเผยดุลการค้าเดือนเม.ย. และตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน อัตราหมุนเวียนแรงงาน

9 มิ.ย. จีนรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต(PPI) เดือนพ.ค.

         สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ (EIA)