ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกสัปดาห์นี้ ยังทรงตัวระดับสูง

ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกสัปดาห์นี้ ยังทรงตัวระดับสูง

ไทยออยล์ ประเมินราคาน้ำมันดิบระหว่างวันที่ 7-11 มิ.ย. 64 ยังทรงตัวในระดับ หลังมีแนวโน้มความต้องการใช้ในสหรัฐและยุโรปเพิ่มขึ้น คาด เวสต์เท็กซัส อยู่ในกรอบ 66-71 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ อยู่ในกรอบ 68-73 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) หรือ TOP  เปิดเผยบทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดยประเมินแนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ ระหว่าง 7 – 11 มิ.ย. 64 พบว่า ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของสหรัฐฯ และยุโรป ที่คาดว่าแนวโน้มการเดินทางเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูร้อน หลังได้มีการผ่อนปรนมาตรการจำกัดการเดินทาง

ขณะที่ อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและคาดว่าจะน้อยกว่าความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น หลังกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตร (OPEC+) คงมติในการปรับเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปในเดือน มิ.. และเดือน ก..

นอกจากนี้ ราคายังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับลดลง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ตลาดยังคงติดตามการประชุมการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและ 6 ประเทศมหาอำนาจ ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 10 มิ.. ซึ่งหากสามารถบรรลุข้อตกลงได้ จะส่งผลให้อิหร่านสามารถกลับมาส่งออกน้ำมันดิบได้ในเร็วนี้และอาจจะส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 66-71 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 68-73 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล

162303755367

สำหรับปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้ ประกอบด้วย

  • กลุ่มโอเปกและชาติพันธมิตร (OPEC+) มีมติคงนโยบายเดิมในการทยอยเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นในเดือน มิ.ย. และ เดือน ก.ค. ในการประชุมวันที่ 1 มิ.ย. ที่ผ่านมา จากมติเดิมคือกลุ่มผู้ผลิตจะปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นราว 350,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มิ.ย. และจะเพิ่มขึ้น 441,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. เนื่องจากกลุ่มผู้ผลิตยังคงจับตาปริมาณการผลิตของอิหร่านที่อาจจะเพิ่มขึ้น หากสามารถบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์ได้และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตจะมีการพิจารณาปริมาณการผลิตสำหรับเดือน ส.ค. เป็นต้นไปอีกครั้ง ในการประชุมวันที่ 1 ก.ค.
  • ความต้องการใช้น้ำมันของโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป หลังจำนวนผู้ติดเชื้อจากโควิด-19 มีการปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 4 มิ.. สหรัฐฯ มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 4% และ 29% ของจำนวนประชากรทั้งหมดในสหรัฐฯ และยุโรป ตามลำดับ ส่งผลให้มีการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางในหลายพื้นที่ โดยความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหลังเข้าสู่ฤดูการขับขี่ซึ่งจะเริ่มขึ้นหลังวันหยุดยาว Memorial Day ในวันที่ 31 พ.ค. ในขณะที่ ความต้องการใช้น้ำมันในยุโรปมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นหลังรัฐสภายุโรปประกาศอนุมัติการใช้วัคซีนพาสปอร์ต (EU Digital COVID Certificate) สำหรับการเดินทางภายในประเทศกลุ่มสมาชิกได้โดยไม่ต้องกักตัวมีผลวันที่ 1 ก.ค. โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 7 ประเทศแล้วที่ประกาศบังคับใช้ ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศบังคับใช้เพิ่มเติม
  • ตลาดยังคงจับตาการเจรจาข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างอิหร่านและ 6 ประเทศมหาอำนาจ ในการประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 10 มิ.. ซึ่งนับเป็นการประชุมครั้งที่ 6 ในการเจรจาระหว่างทั้งสองกลุ่มเพื่อหาทางออกของข้อสรุปมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน แม้ว่าจะยังไม่ได้ข้อสรุปจากประชุมใน 5 ครั้งที่ผ่านมา แต่ที่ประชุมคาดว่าจะสามารถหาข้อตกลงได้ในเร็วนี้ หลังทั้งสองกลุ่มพยายามที่จะหาข้อสรุปให้ได้ก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่านในวันที่ 18 มิ.ย. 64 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าหากสามารถบรรลุข้อตกลงได้อิหร่านมีแนวโน้มที่จะเพิ่มกำลังการผลิตได้ราว 5-1.0 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาส 4 ของปีนี้
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในช่วงวันหยุดยาวในวัน Memorial Day ที่ผ่านมา โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สิ้นสุดวันที่ 28 พ.ค. ปรับลดลงกว่า 5.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 3 ล้านบาร์เรล เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น หลังโรงกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในเอเชียคงอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ในอินเดียจะมีการปรับลดลงค่อนข้างมากแล้ว ส่งผลให้หลายประเทศในเอเชียได้มีการขยายมาตรการในการจำกัดการเดินทางเพิ่มเติม ได้แก่ มาเลเซียที่มีการประกาศใช้มาตรการล็อคดาวน์ตั้งแต่วันที่ 1-14 มิ.. โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเวียดนามได้ประกาศขยายพื้นที่การใช้มาตรการล็อคดาวน์คลอบคลุมเขตพื้นที่ตอนเหนือ ขณะที่รัฐบาลอินโดนีเซียขยายระยะเวลาบังคับใช้มาตรการจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. ไปเป็นวันที่ 14 มิ.ย. และเพิ่มพื้นที่การใช้มาตรการดังกล่าวอีกใน 4 จังหวัด
  • เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ GDP ไตรมาส 1/64 ของยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. 64 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ และการประชุมของธนาคารกลางยุโรป

162303771873

ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา ระหว่าง 31 พ.ค.4 มิ.ย. 64 พบว่า  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 3.30 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 69.62 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เช่นเดียวกับราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 2.26 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 71.89 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 70.14 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในหลายพื้นที่ เนื่องจากการฉีดวัคซีนมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งอุปทานที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างจำกัดหลังกลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรมีมติคงการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามแผนเดิมที่จะปรับเพิ่มการผลิตราว 350,000 ในเดือน มิ.ย. และ 440.000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ หลังความต้องการใช้น้ำมันของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น