ตัวเลขเงินเฟ้ออาจกดดันเฟดขึ้นดอกเบี้ย (13 พ.ค.64)

ตัวเลขเงินเฟ้ออาจกดดันเฟดขึ้นดอกเบี้ย (13 พ.ค.64)

วันพุธที่ผ่านมาดัชนีตลาดปรับตัวลง ดัชนีลงไปทำจุดต่ำสุดที่ประมาณ 1,558 จุด ลดลง 21 จุด หลังจากนั้นสามารถรีบาวด์กลับขึ้นมาได้

โดยมีหุ้น Delta ที่ส่งผลต่อตลาดประมาณ +10 จุด ขณะที่ภาพเชิงลบของตลาดเป็นไปตามทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค และตลาดหุ้นต่างประเทศ จากความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะรายงาน ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,571.85 จุด -7.08 จุด -0.45% มูลค่าการซื้อขาย 117,161 ลบ. ต่างชาติ -3,256.24 ลบ. TFEX -30,528 สัญญา ตราสารหนี้ +6,711.09 ลบ.

ปัจจัยบวก

+ ราคาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 80 เซนต์ หรือ 1.2% ปิดที่ 66.08 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังสหรัฐเปิดเผยยอดส่งออกน้ำมันดิบลดลงแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2561 และแรงหนุนจาก EIA และกลุ่มประเทศโอเปค มีมุมมองบวกต่อแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันในปีนี้
+ ผลวิจัยการใช้งานจริงจากกระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซียระบุว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทซิโนแวกของจีน สามารถลดการติดเชื้อในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ของอินโดนีเซียลงได้อย่างมาก
+ WHO เปิดเผยว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของบริษัทซิโนฟาร์มจากประเทศจีนซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกได้รับการพิจารณาว่า มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19
+ UN ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจโลกระบุว่า GDP จะขยายตัว 5.4% ในปี 2564 จากที่คาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ 4.7% จากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีนและสหรัฐ
+ คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของสหภาพยุโรป (EU) จะขยายตัว 4.2% ในปี 2564 และ 4.4% ในปี 2565 ซึ่งสูงกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้

ปัจจัยลบ

- ดัชนีดาวโจนส์ ลดลง 681.50 จุด -1.99% กังวลว่าการพุ่งขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้ออาจกดดันให้ FED ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด รวมทั้งลดวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE)
- เงินเฟ้อสหรัฐพุ่งแรง ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ดีดตัวขึ้น 0.8%MoM ในเดือนเม.ย. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 0.2%MoM ดัชนี CPI พุ่งขึ้น 4.2%YoY ดีดตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.2551 และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.6%
- สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยยังพบคลัสเตอร์ใหม่ๆ ต่อเนื่องในกทม.และตจว. กรมราชทัณฑ์ ตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในผู้ต้องขัง เชิงรุกแบบ 100% พบติดเชื้อเกือบ 3 พันราย เหตุจากนักโทษเข้าใหม่
- GDP ของอังกฤษในไตรมาส 1/2564 หดตัว 1.5% เนื่องจากการประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโควิด-19 ทั่วประเทศได้ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงกดดันจากการพุ่งขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้ออาจกดดันให้ เฟด ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งลดวงเงิน QE ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังถูกกดดันจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ โดยล่าสุดได้มีการแพร่ระบาดในเรือนจำพบติดเชื้อเกือบ 3 พันราย มองกรอบการเคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 1,550-1,575 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

• หุ้นที่คาดว่าผลประกอบการ 1Q21 เติบโต WICE XO SKN

• หุ้นที่ได้ประโยชน์มาตรการเยียวยาโควิดระลอก 3 CPALL MAKRO CRC COM7 SYNEX CPW
• หุ้นที่เข้าคำนวณ MSCI Global Standard : CBG SCGP หุ้นออก : KBANK-F DTAC
• หุ้นที่เข้าคำนวณ MSCI Global Small Cap : ACE PSL RCL SCCC SINGER SYNEX TTA TOA ไม่มีหุ้นออก

หุ้นรายงานพิเศษ

               NER “มุมมองบวก” Bloomberg Consensus 7 บาท

162088125726

•NER รายงานกำไรงวด 1Q64 เท่ากับ 366 ลบ. +512%YoY -13%QoQ โดยมีรายได้รวมเท่ากับ 4,963 ลบ. +68%YoY -22%QoQ จากปริมาณขายเท่ากับ 8.97 หมื่นตัน +40%YoY -28%QoQ เป็นผลจากขยายกำลังการผลิตในโรงงานยางแท่งแห่งที่ 2 ที่เริ่ม เปิดดำเนินการเมื่อ ก.ค. 63 ส่วน %GPM อยู่ที่ระดับ 12.8% ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่ 13.5% นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้พิเศษจากค่าเคลมประกันอุบัติเหตุเพลิงไหม้คลังเก็บวัตถุดิบที่เกิดขึ้นในปลายปีก่อนจานวน 24 ลบ.

•แนวโน้มทั้งปี 64 บริษัทปรับเป้ารายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.45 หมื่นลบ. (เดิม 2.2 หมื่นลบ.) +50%YoY และปริมาณขายเพิ่มขึ้นเป็น 4.40 แสนตัน +23% (เดิม 4.10 แสนตัน) จากความต้องการใช้ยางพาราทั่วโลกเพื่อผลิตล้อรถยนต์ยังอยู่ในระดับสูง ขณะเดียวกันช่วงปลายปีนี้ บริษัทเตรียมเพิ่มเตาอบยางพาราซึ่งจะช่วยเพิ่มกำลังการผลิตอีก 6 หมื่นตัน/ปี นอกจากนี้ แนวโน้มรายได้ 2Q64 คาดจะเติบโตต่อเนื่อง QoQ จากการเลื่อนส่งมอบยางพาราจากไตรมาสก่อนหน้าอีก 7-8 พันตัน ส่วน %GPM ทั้งปี คาดจะทรงตัวในระดับสูงราว 10-14% (เดิมเฉลี่ย 8-10%)

•ความเห็น เรามีมุมมองบวกจากการประชุมนักวิเคราะห์ หลังจากบริษัทปรับเป้ารายได้ปีนี้เพิ่มขึ้นอีกราว 10% ประกอบกับแนวโน้มความต้องการยางพาราที่ยังสูงต่อเนื่อง ช่วย Secure เป้ารายได้ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มรายได้ในช่วงที่เหลือของปีคาดจะเติบโตรายไตรมาสตั้งแต่ 2Q64 เป็นต้นไป

หุ้นมีข่าว

(+) SMT (Bloomberg Consensus 5.50 บาท) ย้ำเป้ารายได้ปี 64 แตะ 3,000 ล้านบาท หลังไตรมาส 1/64 กวาดกำไร 51.34 ล้านบาท โต 67.23% ตุนแบ็กล็อก 1,500 ล้านบาท มั่นใจช่วงที่เหลือของปีโตตามแผน แย้มศึกษาซื้อกิจการในยุโรป คาดชัดเจนปลายปีนี้ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) IP (Bloomberg Consensus 25.00 บาท) โชว์ไตรมาส 1/64 กำไรสุทธิพุ่ง 11.54% แตะ 20.53 ล้านบาท กวาดรายได้รวม 177.88 ล้านบาท โต 80% รับกระแสรักสุขภาพบูม ดันยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์รักษาสุขภาพและชะลอวัยพุ่ง มั่นใจปีนี้รายได้ 750-800 ล้านบาท โต 25% (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) TKN (Bloomberg Consensus 10.00 บาท) เตรียมเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ โกยยอดขายครึ่งปีหลัง มุ่งเน้น Non-Seaweed เดินหน้าเจรจาพันธมิตรพัฒนาผลิตภัณฑ์ Plant-Based และศึกษาการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชง ด้านผลงานไตรมาส 1/2564 ฟื้นตัวจากไตรมาสก่อนมีรายได้จากการขาย 919.9 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 55.9 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) III (Bloomberg Consensus 9.00 บาท) เล็งปรับเป้ารายได้ปีนี้โตไม่ต่ำกว่า 30% หลังเร่งขยายการให้บริการครอบคลุมมากขึ้นทั้งในประเทศและภูมิภาคทั้ง 4 กลุ่มธุรกิจ พร้อมปรับเพิ่มความถี่ของเที่ยวบิน 20-30% ในเส้นทาง จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง มองแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2564 สร้างผลงานที่ดีต่อเนื่อง จากความต้องการขนส่งที่สูงขึ้น และการเติบโตจากการที่บริษัทเข้าไปร่วมทุนในธุรกิจต่างๆ โชว์ก่าไรไตรมาส 1/2564 โตโดดเด่น 243.6% (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตา

ในประเทศ

17 พ.ค. บจ.ส่งงบ 1Q64 วันสุดท้าย สภาพัฒน์ แถลง GDP ไตรมาส 1/64

19 พ.ค. ประชุมคณะกรรมการ กกร.

สัปดาห์ที่ 3 ส.อ.ท. รายงานยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์

สัปดาห์ที่ 3 กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า

สัปดาห์ที่ 4 สศค.รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค

สัปดาห์ที่ 5 สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม

28 พ.ค. ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ต่างประเทศ

13 พ.ค. ญี่ปุ่นเปิดเผยดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐเปิดเผยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนเม.ย.

14 พ.ค. สหรัฐเปิดเผยข้อมูลยอดค้าปลีก ราคานำเข้าและส่งออก การผลิตภาคอุตสาหกรรม สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ และ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนพ.ค.