Bank Sector (4 มิ.ย.64)

Bank Sector (4 มิ.ย.64)

ยังไม่ปัง แต่ดีกว่าไม่มี

แบบสำรวจล่าสุดของโครงการ asset warehousing จากธปท. ออกมาเป็นไปในทางเดียวกับคาดการณ์ของเราที่เชื่อว่ามีลูกหนี้ไม่มากที่จะเข้าร่วมโครงการ ดังนั้นเราจึงยังคงมุมมองที่ว่าโครงการประเภทคืนหรือตีโอนสินทรัพย์ชำระหนี้จะมีผลบวกเพียงเล็กน้อยกับธนาคาร โดยกลุ่มที่ได้รับประโยชน์กับมาตรการคือธนาคารที่เน้นสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อโรงแรม ได้แก่ TISCO, KKP, TTB และ SCB

 

มาตรการจำนวนมากเพื่อบรรเทาผลกระทบจาก Covid-19

ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือด้านสินเชื่อและการปรับโครงสร้างหนี้หลายมาตรการ ทั้งลูกหนี้รายย่อยและ SMEs เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของ Covid-19 รอบใหม่ในไทยปีนี้ โดยมาตรการบรรเทาผลกระทบคล้ายกับมาตรการก่อนหน้านี้ ซึ่งมีทั้งการอัดฉีดสภาพคล่องระยะสั้น (สินเชื่อพิเศษสำหรับการดำรงชีพและสินเชื่อ soft loan) และมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ (การพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ผ่านช่องทาง DR BIZ) อย่างไรก็ตามมาตรการที่เพิ่มเติมเข้าในปีนี้คือ มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้และ มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (asset warehousing) ซึ่งอนุญาตให้ลูกหนี้ชำหนี้โดยการให้คืนหรือตีโอนสินทรัพย์ในการชำระหนี้

 

มีโรงแรมเพียง 4 ได้รับการอนุมัติให้เข้าโครงการ asset warehousing

แบบสำรวจล่าสุดจากธปท. แสดงผลว่ามีเพียงผู้ประกอบการโรงแรม 26% ที่มีคุณสมบัติและสนใจเข้าร่วมโครงการ asset warehousing ขณะที่ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจโครงการ และปฏิเสธที่จะยกสินทรัพย์ให้ธนาคาร รวมถึงมองราคาประเมินต่ำเกินไปที่จะครอบคลุมการชำระหนี้ นอกจากนี้เงื่อนไขค่าเช่าการเช่ากลับจากธนาคาร (leaseback) สูงไปทีจะกลับมาดำเนินการได้ โดยมีเพียงผู้ประกอบการโรงแรมเพียง 4 ราย มูลค่าสินเชื่อรวม 910ลบ. ที่ได้รับอนุมัติเข้าโครงการ

 

ผลบวกจากมาตรการมีเพียงเล็กน้อยเนื่องจากผู้เข้าร่วมโครงการไม่มาก

ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปในทิศทางเดียวกับมุมมองของเราว่าโครงการเพิ่มเติมดังกล่าวจะสร้างผลบวกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และเชื่อว่าจะมีลูกหนี้ไม่กี่รายที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น ราคาตีโอนและเงื่อนไขการเช่ากลับ ทำให้เรามองมาตรการเป็นบวกต่อธนาคารเพียงเล็กน้อยจากการเพิ่มทางเลือกและความยืดหยุ่นให้กับแบงก์ในการบริหารหนี้เสียจาก Covid-19 เช่น ความรวมเร็วในแง่กระบวนการทางกฏหมาย และลดโมเมนตัมหนี้เสีย โดย TISCO (สินเชื่อเช่าซื้อ ? 60%), KKP (สินเชื่อเช่าซื้อ ? 40%), TTB (สินเชื่อเช่าซื้อ ? 30%) และ SCB (มีสินเชื่อโรงแรมสัดส่วนสูงที่สุด) จะเป็นกลุ่มหลักที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ asset warehousing และมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้