BPP ลุยลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์2แห่งในออสเตรเลียกำลังผลิต166.8เมกะวัตต์

BPP ลุยลงทุนโรงไฟฟ้าโซลาร์2แห่งในออสเตรเลียกำลังผลิต166.8เมกะวัตต์

บ้านปู พาวเวอร์ จัดตั้ง Banpu Energy Hold Trust เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในออสเตรเลีย 2 โรง กำลังการผลิตรวม 166.8 เมกะวัตต์ มูลค่าลงทุน 2,332 ล้านบาทโดย BPP ถือหุ้นทางอ้อม 10 %มูลค่าลงทุน 233 ล้านบาท หนุนการเติบโตยั่งยืน

บริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BPP  แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า Banpu Energy Australia Pty Ltd หรือ BEN บริษัทย่อยร้อยละ 100 ของบริษัท บ้านปู่ จำกัด (มหาชน) หรือ BANPU และ Banpu Renewable Australia Ply Ltd หรือ BREA บริษัทย่อยร้อยละ 100 ของบริษัท บ้านปู เน็กซ์ จำกัด หรือ Banpu NEXT  ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่ BPP ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ได้มีการจัดตั้งหน่วยลงทุน Banpu Energy Hold Trust ขึ้นเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2564 โดย BEN ถือ
หุ้นร้อยละ 80 และ BREA ถือหุ้นร้อยละ 20 (ทั้งนี้ Banpu Energy Hold Trust มีสถานะเป็นบริษัทร่วมของ BPP ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 10)

การจัดตั้ง Banpu Energy Hold Trust เพื่อเข้าซื้อหน่วยลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศออสเตรเลีย 2 แห่ง ได้แก่ Bery (BSF) และ Manildra (MSFฉในสัดส่วนร้อยละ 100 ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์หุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าวกับบริษัท New Energy Solar Limited หรือNEW เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2564 โดยมีมูลค่าการลงทุนรวม 97.5 ล้านออสเตรเลียดอลล่าร์ หรือ เทียบเท่า 2,332 ล้านบาท (โดยเทียบสัดส่วนการลงทุนโดย BPP ที่ถือหุ้นทางอ้อมร้อยละ 10 จะมีมูลค่าการลงทุน 9.75 ล้านออสเตรเลียดอลล่าร์ หรือ เทียบเท่า 233 ล้านบาท)


โรงไฟฟ้า 2 แห่งมีกำลังการผลิตรวม 166.8 เมกะวัตต์ (MWdc) ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ BSF กำลังการผลิต 1 10.9 เมกะวัตต์ (Mwcc) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนมิถุนายน 2562 และ โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ MSF กำลังการผลิต 55.9 เมกะวัตต์ (Mwdc) เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2561

โรงไฟฟ้าทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีปริมาณความต้องการและการเติบโตของการใช้ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับทางภาครัฐได้มีนโยบายที่ชัดเจนในการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบสายส่งของประเทศ หรือ National Electricity Market หรือ NEM ตามสัญญาการซื้อขายไฟฟ้ (PPA) ระยะยาว โดยผู้รับ
ซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าทั้งสองแห่งมีอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในกลุ่มน่าลงทุน (investment grade) ซึ่งสะท้อนถึงสถานะทางการเงินที่มีกระแสเงินสดที่มั่นคงในระยะยาว

โดยการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นอีกก้าวสำคัญในการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ Greener & Smarter เพื่อสร้างรากฐานการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนของ BPP รวมทั้งโอกาสการลงทุนของบริษัทฯ ในประเทศออสเตรเลียและยังเป็นการก้าวสูตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่มีความก้าวหน้าและเป็นตลาดขายส่ง (wholesale electricitymarket ที่เปิดเสรีอีกด้วย

ทั้งนี้ โครงสร้างการลงทุนผ่าน Banpu Energy Hold Trust ได้ผ่านการพิจารณาอย่างครอบคลุมรอบด้าน ซึ่งเป็นโครงสร้างการลงทุนที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เพื่อการลงทุนและดำเนินธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย การลงทุนโดยจัดตั้งหน่วยลงทุน (Hold Trust) นั้นเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎระเบียบ

รวมทั้งการพิจารณาจากเหตุผลทางธุรกิจที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

1.เป้าหมายการขยายการเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านบริษัท lagship ในแต่ละกลุ่มธุรกิจBANPU ซึ่งดำเนินธุรกิจพลังงานครบวงจร โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจแหล่งพลังงาน (ดำเนินงานผ่าน BANPU) ธุรกิจผลิตพลังงาน และ ธุรกิจเทคโนโลยีพลังงาน โดยปัจจุบันมีการดำเนินธุรกิจอยู่ในหลากหลายประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก และสหรัฐอเมริกา มีการลงทุน พัฒนา และบริหารงานธุรกิจต่างๆ ผ่านบริษัทย่อยฯ ในประเทศที่มีการดำเนินงานตั้งอยู่ ครอบคลุมตั้งแต่ธุรกิจการผลิตและจำหน่ายเชื้อเพลิง รวมถึงงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การตลาด การค้า
โลจิสติกส์ และการจัดหาเชื้อเพลิงBPP เป็นหนึ่งในบริษัท Flagship ภายใต้กลุ่ม BANPU เพื่อลงทุนและดำนเนินธุรกิจผลิตพลังงานหรือผลิตไฟฟ้าจาก
พลังงานเชื้อเพลิงทั่วไป หรือ Thermal power plant เช่น โรงฟฟ้าก๊ซธรรมชาติ โดยมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ High Effciency, Low Emission (HELE) ซึ่งมีเป้าหมายการเติบโตอย่างชัดเจน สร้างความสมดุลและขยายการเติบโต ตอบโจทย์ผู้บริโภค ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยลงทุนในตลาดที่มีความเติบโตของความต้องการใช้ฟฟ้าและมีนโยบายสนับสนุนจากรัฐบาลBanpu NEXT เป็นอีกหนึ่งบริษัท Flagship ที่จัดตั้งขึ้นโดย BANPU และ BPP ถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากันร้อยละ 50 จากการผนวกกำลัง Synergy ระหว่างกัน โดย BANPU มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ในขณะที่ BPP มี
ความเชี่ยวชาญทางด้านโรงไฟฟ้า ด้วยการขับเคลื่อนจากทีมผู้บริหารที่มีทักษะและรับผิดชอบโดยตรงต่อธุรกิจเทคโนโลยีพลังงานสะอาด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญจากทั้ง BANPU และ BPP เพื่อดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงาน ครอบคลุมถึง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ โรงไฟฟ้าพลังงานลม ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจร ระบบจัดเก็บพลังงาน และระบบการจัดการเทคโนโลยีพลังงาน การจัดเก็บพลังงานไฟฟ้า การบริหารประสิทธิภาพการใช้พลังงาน พาหนะไฟฟ้า
การซื้อขายพลังงาน ไมโครกริด โครงการเมืองอัจฉริยะ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะ เป็นการริเริ่มพัฒนาธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต และผลตอบแทนสูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้น

อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการแบ่งกลุ่มธุรกิจหลักเพื่อให้เกิดความชัดเจน ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ในการลงทุนหรือพัฒนาโครงการต่างๆ แต่ละครั้ง ซึ่งมักจะมีขนาดใหญ่ มีการบริหารงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียหลายฝ่าย ดังนั้น ความรู้ ทักษะต่างๆ ไม่ได้จำกัดเฉพาะเพียงทีมงานที่อยู่ในแต่ละกลุ่มธุรกิจ หากแต่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่มี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งการจัดการ การบริหารธุรกิจ โดยผสานธุรกิจด้านพลังงานทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ จากการที่มีทรัพยากรที่ได้จัดสรรไว้ในโครงสร้างขององค์กรอย่างครบถ้วนนี้

2.ประโยชน์ฯ และการผนึกกำลังร่วม (Synergy) จากการร่วมลงทุนกับ BANPUจากการมองหาโอกาสการลงทุนในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนมาอย่างต่อเนื่อง การจัดตั้ง Banpu Energy Hold Trust เพื่อเข้าซื้อหน่วยลงทุนในโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในประเทศออสเตรเลีย 2 แห่ง ได้แก่ Bery ("BSF") และ Manildra("MsF")ในสัดส่วนร้อยละ 100 เป็นหนึ่งในก้าวสำคัญในการดำเนินตามแผนกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน และ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทั้ง BANPU และ Banpu NEXT โดยการผนึกกำลังร่วม หรือ การสร้าง synergy ระหว่างกลุ่มบริษัทจากการที่สถานที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ซึ่ง BANPU ดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อยฯ ในการทำธุรกิจเหมืองถ่านหินมากว่า 10 ปี จึงได้มีการพัฒนา และ สร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการ (Operational management) โครงการขนาดใหญ่ มีความเข้าใจถึงกฎระเบียบ การลงทุน การติดต่อประสานงานกับทางภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านธุรกิจพลังงาน รวมไปถึงการดูแลซุมชนและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในขณะที่สามารถแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค (technical know-how) จากทีมงานผ่านทางบริษัท Banpu NEXT ซึ่งดำเนินธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีพลังงานได้อีกด้วย จึงมีผลทำให้มีส่วนช่วยในการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงและเทรนด์การใช้พลังงานรูปแบบต่างๆ ในประเทศออสเตรเลีย จะช่วยให้การพัฒนาและบริหารโรงไฟฟ้าพลังงาน