เตือน!! ปชช.ป้องกันโรค หลังพบ'สายพันธุ์เดลต้า'กระจายทั่วไทย

เตือน!! ปชช.ป้องกันโรค หลังพบ'สายพันธุ์เดลต้า'กระจายทั่วไทย

พบผู้ป่วยโควิด 19 'สายพันธุ์เดลต้า' ในกทม.เกิน 50%ขณะที่ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กระจายทั่ว เผยแนวโน้มผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น ขอความร่วมมือประชาชนปฎิบัติสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด

พุ่งต่อเนื่อง!! สำหรับยอด ผู้ติดเชื้อโควิด 19  และยอดผู้เสียชีวิต ล่าสุด วันที่ 6 ก.ค.2564  นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 5,420 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่ 5,383 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 37 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ มีผู้ติดเชื้อสะสมไปแล้ว 265,790 ราย หายป่วยกลับบ้าน 3,586 ราย

ผู้ป่วยสะสม 265,790 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) และเสียชีวิตเพิ่มอีก 57 ราย รวมผู้เสียชีวิตสะสม 2,333 ราย รักษาตัวในรพ. 65,297 ราย แบ่งเป็นในรพ. 32,906 ราย และรพ.สนาม 32,391 ราย  อาการหนัก 2,350 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 643 ราย

162556314411

  • 'ผู้สูงอายุ'-โรคเรื้อรังฉีดวัคซีนเพียง2 ล้านกว่าคน

สำหรับสถานการณ์การ ฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่รายงานวันนี้ สามารถสรุปจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 5 ก.ค. 2564 รวม 11,058,390 โดส ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 8,022,029 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม :  3,036,361 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)

ทั้งนี้ สำหรับจำนวนการได้รับ วัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย แยกตามกลุ่มเป้าหมาย ในส่วนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค มีเพียง 15.1% เท่านั้น ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และ 3.4% ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ส่วนกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มี 12.5% ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 และ 0.8% ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2

 โดยใน2 กลุ่มนี้มีทั้งหมดประมาณ 17 ล้านคน แต่ฉีดได้เพียง 2 ล้านกว่าคนเท่านั้น อยากฝากพี่น้องประชาชนในกลุ่มนี้ขอให้มาฉีดวัคซีน ส่วนวัยอื่นๆ ขอให้กลุ่มนี้ได้รับวัคซีนก่อน เพื่อได้มีภูมิคุ้มกัน ได้ลดการใช้เตียง การป่วย การเสียชีวิต เพราะจำนวน ผู้สูงอายุ  60 ปี ขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิตเยอะมาก

162556316110

  • 'สายพันธุ์เดลต้า' กระจายทั่วไทย กทม.เกิน50%

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขณะนี้สายพันธุ์ของ ผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีการแพร่ระบาดในประเทศ มี 3 สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์อัลฟ้า หรือสายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์เดลต้า หรือสายพันธุ์อินเดีย และสายพันธุ์เบต้า หรือสายพันธุ์แอฟริกาใต้ โดยตอนนี้สายพันธุ์เดลต้า กำลังมีการแพร่กระจายสู่ภูมิภาคมากขึ้น และในกทม.นั้น พบผู้ป่วยโควิด 19 สายพันธุ์เดลต้า เกิน 50%

"ตอนนี้สัดส่วนของสายพันธุ์โควิด 19 พบว่าบางพื้นที่มีผู้ป่วยสายพันธุ์เดลต้ามากกว่าสายพันธุ์อัลฟ้า โดยเฉพาะในกทม.เป็นพื้นที่น่าเป็นห่วง สายพันธุ์ดังกล่าว มีการแพร่กระจายได้ไว และไม่แสดงอาการ ดังนั้น ขอให้ทุกคนช่วยกันในเรื่องอนามัยส่วนบุคคล ต้องใส่หน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย 2 ชั้น ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง และอย่าไปในพื้นที่เสี่ยง" นพ.ทวีศิลป์ กล่าง 

162556318743

นอกจากนั้นมีการแพร่กระจายของสายพันธุ์เดลต้า ในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนข้างมาก โดยจากการเก็บข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ภาพรวมของทั้งประเทศ จำนวน 2,238 ตัวอย่าง พบว่า สายพันธุ์อัลฟ่า 65.1% สายพันธุ์เดลต้า 32.2%และสายพันธุ์เบต้า (แอฟริก้าใต้) 2.6% ในส่วนของกรุงเทพมหานคร จาก 936 ตัวอย่าง พบสายพันธุ์เดลต้า 52% สายพันธุ์อัลฟ่า 47% ส่วนภูมิภาค จำนวน 1,302 ตัวอย่าง แบ่งเป็น สายพันธุ์อัลฟ่า 77% สายพันธุ์เดลต้า 18% และสายพันธุ์เบต้า 4.4%

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มสายพันธุ์เดลต้ากำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้พบประมาณ1ใน 3 ส่วนในกทม.พบเกิน 50 %ไปแล้ว ถ้าพิจารณาจากข้อมูลในต่างประเทศ คาดว่าแนวโน้มของไทยก็ต้องสู้กับสายพันธุ์เดลต้าเช่นเดียวกัน ฉะนั้น ทุกคนต้องทราบชุดข้อมูลและต้องป้องกัน ดูแเรื่องอนามัยส่วนบุคคลให้เข้มข้นมากขึ้น และต่อให้ฉีดวัคซีนไปแล้วต้องปฎิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด

  • เตียงในกทม.เต็มพบผู้ป่วยต้องการเครื่องช่วยหายใจมากขึ้น 

ยพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่าสำหรับในพื้นที่กทม.และปริมณฑล ขณะนี้พบว่าผู้ป่วยโควิด 19 ในกลุ่มต่างๆ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว และสีเหลือง ส่วนสีแดงมีลักษณะค่อยๆ เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ตอนนี้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือ เครื่องช่วยหายใจ เพราะเมื่อมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น มีความจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจให้เร็วที่สุด เพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนโดยเร็ว และหลังจากนี้มีแนวโน้มว่าจะต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น สถานการณ์เครื่องช่วยหายใจน่าเป็นห่วงพอๆ กับจำนวนเตียง

สำหรับ ผู้ป่วยโควิด 19 เสียชีวิต ทั้ง 57 ราย แบ่งเป็น กทม. 33 ราย สมุทรปราการ 4 ราย นครปฐม ระยอง ปทุมธานี ชลบุรี สงขลา สระบุรี จังหวัดละ 2 ราย เพชรบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก สมุทรสงคราม นราธิวาส ปัตตานี สกลนคร และนครพนม จังหวัดละ 1 ราย

162556320446

ปัจจัยเสี่ยงของโรค ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคตับ มะเร็ง หลอดเลือดสมอง โรคปอด โรคเลือดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และไม่มีโรคประจำตัว

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ได้แก่ คนอื่นๆ คนในครอบครัว เข้าไปในสถานที่แออัดพลุกพล่าน อาศัย/เดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด ประกอบอาชีพเสี่ยง และระบุไม่ชัดเจน สำหรับค่ากลางระยะเวลาวันที่ทราบผลติดเชื้อจนถึงเสียชีวิต พบว่า 11 วัน (นานสุด 61 วัน )15 ราย(28%) มากกว่า 14 วัน 24 ราย (44%) ตั้งแต่ 7-14 วัน 15 ราย (28%) ตั้งแต่ 0-6 วัน และระหว่างสอบสวน 3 ราย

 

  • พบผู้ป่วยคลัสเตอร์ในกทม.นำเชื้อติดคนในครอบครัว

สำหรับรูปแบบการกระจายเชื้อโควิด 19 นั้น ทาง กรมควบคุมโรค ได้นำตัวเลขของวันที่ 6 ก.ค.มาพิจารณา พบว่า มีการเดินทางไป ตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด มี 254 ราย ใน 17  จังหวัด 

ทั้งนี้ การติดเชื้อภายในและภายนอกครอบครัวของคลัสเตอร์ที่มีประวัติเดินทางจาก กทม.และปริมณฑล ตรวจพบที่ต่างจังหวัด จำแนกตามภูมิภาค (ข้อมูลวันที่ 5 ก.ค.2564 ) แบ่งเป็นภาคเหนือ 5จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด  ทำให้เห็นภาพการนำเชื้อกลับไปและติดในครอบครัวตอนนี้เกิดขึ้นแล้ว ขอให้พี่น้องชาวอีสานและภาคเหนือ เข้าใจในประเด็นนี้ กลับบ้านไปขอให้มีการสร้างระยะห่างระหว่างบุคคล ขอให้เข้ามาตรการเขี่ยมนาโมเดล

162556322851

ส่วน ผู้ป่วยรายใหม่ วันที่ 6ก.ค.3564 ใน 10 จังหวัดอันดับแรก ได้แก่  กรุงเทพฯ 1,492 ราย  สมุทรสาคร 398 ราย สมุทรปราการ 318 ราย ชลบุรี 266 ราย ปัตตานี 262 ราย นนทบุรี 242 ราย ปทุมธานี 208 ราย นครปฐม 206 ราย ยะลา 135 ราย และสงขลา 132

สำหรับ คลัสเตอร์ใหม่ ที่ต้องเฝ้าระวังในกทม. มีกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ มีคลัสเตอร์ กรมการขนส่งทางบก สถานดูแลผู้สูงอายุ  ส่วนกลุ่มราชเทวี  มีสถานพยาบาลแห่งหนึ่ง อย่างไรก็ตามตอนนี้มีคลัสเตอร์ 29 แห่ง ที่สามารถควบคุมได้แล้ว ดังนั้น ขอบคุณทุกคนที่ช่วยให้พื้นที่

คลัสเตอร์ใหม่ในต่างจังหวัด พบว่า  มีที่จ.สมุทรสาคร เป็นโรงงานผ้าอ้อม  จ.ชลบุรี เป็นแคมป์ก่อสร้าง  และจ.นนทบุรี เป็นชุมชนหลังเมเจอร์  จ.ปทุมธานี  เป็นโรงงานอะลูมิเนียม โรงงานผลิตภัณฑ์อาหาร  และจ.ตาก โรงงานเสื้อผ้า

162556324618

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ตอนนี้หลายท่านมีความกังวลใจเพราะมีการติดเชื้อเยอะขึ้น และมีความต้องการเตียง ท่านผอ.ศบค. ได้เน้นย้ำให้ กทม.และสธ.ช่วยกันนำผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยนอนรอที่บ้านมาสู่การรักษาในรพ.โดยเร็ว ตอนนี้ กทม.ได้มีการเปิดศูนย์พักคอยทั้ง 17 แห่ง ในการดูแล ผู้ป่วยโควิด 19 ซึ่งขอให้ทุกท่านติดตามการประชาสัมพันธ์ของกทม. ส่วนเตียงสีแดง กลุ่มที่เป็นอาการหนัก ตอนนี้ทุกภาคส่วนกำลังช่วยกันเพื่อที่จะเปิด เตียงไอซียู รองรับผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น